สิ่งที่เราควรเรียนรู้จากดราม่า ‘พิมรี่พาย’ และอีกหลายๆดราม่าในลักษณะเดียวกัน
ซึ่งมักจบลงด้วย ‘ไม่มีใครผิด เป็นความเข้าใจผิด เข้าใจคลาดเคลื่อน สื่อสารผิดพลาด’
เป็นสรุปที่คุ้นๆ และคาดเดากันได้
องค์กรก็เหมือนสิ่งมีชีวิต
เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาจมีเชื้อโรคร้ายอาศัยอยู่
ภายนอกดูแข็งแรง กล้ามใหญ่ หุ่นเฟิร์ม แต่ภายในอาจมีเชื้อร้ายแฝงกายอยู่
(บางครั้งภายนอกที่ดูขี้โรค อาจรักษาได้ง่ายกว่า)
องค์กรจะต้องมีระบบแจ้งเตือนสุขภาพ
องค์กรที่สุขภาพดีจะเปิดโอกาสให้คนภายใน ได้บอกเล่า ปัญหา อุปสรรค ที่เกิดขึ้น
ให้คนระดับบนๆได้รับรู้
รู้ข้อเท็จจริง จะได้ตัดสินใจถูก
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คนระดับบนต้องเปิดใจรับฟัง
ส่วนหนึ่งที่คนระดับล่าง และกลาง ไม่กล้าความจริง ก็เพราะคนข้างบนนี่แหละ
อยากฟังแต่เรื่องดีๆ หงุดหงิดถ้าเอาปัญหามาบอก
สุดท้ายปัญหาก็สะสม จนเกินเยียวยา
แต่บางองค์กร คนระดับบนก็ใจกว้างพอ
โดยเฉพาะเจ้าของกิจการตัวจริง เขาไม่อยากให้กิจการตัวเองเจ๊งหรอก
ดังนั้น เขาจะอยากฟังทั้งเรื่องดีและปัญหา
แต่ความยากคือ
ใครจะกล้าเล่าปัญหา
โดยเฉพาะคนระดับกลาง เพราะการบอกปัญหา คือการบอกว่า ตัวเองทำงานไม่ได้เรื่อง
จะเห็นว่า ปัญหาที่ถูกเปิดโปง จะเป็นหน่วยงานรัฐ หรือเอกชน มักมาจากพนักงานระดับล่าง
ดังนั้น ถ้าองค์กรไหนอยากสุขภาพดี ต้องหาทาง ฟังเสียงคนที่อยู่ล่างๆ
บางองค์กรรู้ว่า คนไทยไม่กล้าพูดความจริง โดยเฉพาะผู้บริหารระดับกลาง
มักหมกเม็ดไม่พูดความจริงทั้งหมด ส่วนหนึ่งกลัวความผิด ส่วนหนึ่งอยากสร้างผลงานให้ดูดี
จึงใช้วิธีส่งสายลับ ไปปะปนเป็นพนักงานในหน่วยงานต่างๆ
สายลับนี้ จะถูกเชิญมาคุยกับผู้บริหารระดับสูงเป็นระยะๆ
สายลับนี้ จะมีอายุไม่เยอะเท่าผู้บริหาร แต่อายุจะน้อยใกล้เคียงกับพนักงานทั่วๆไป