คลังเก็บป้ายกำกับ: เทสโก้

จะ ‘เอาอยู่’ มั๊ย?

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตอนมีข่าวว่าเศรษฐีจากตะวันออกกลางสนใจจะมาลงทุนทำนา ในบ้านเรา ก็ทำเอาหลายฝ่ายออกมาเรียกร้อง ในทำนอง “ห้ามเด็ดขาด” เพราะนี่คืออาชีพสงวนสำหรับคนไทย
ในสายตาคนไทยแล้ว แขกทำได้แค่ ปล่อยเงินกู้, ขายถั่ว และขายโรตี เท่านั้น
หรือไม่ก็คงกลัวแขกจะเอาอูฐมาไถนาแทนควายไทย อ่านเพิ่มเติม จะ ‘เอาอยู่’ มั๊ย?

เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา

สมัยเรียนมัธยม คุณครูของผมท่านหนึ่ง แกไม่เคยทานมื้อเที่ยงในโรงเรียนเลย แต่จะออกไปทานข้าวข้างนอกเป็นประจำ
หากเป็นช่วงต้นๆเดือน แกจะขี่มอเตอร์ไซด์ออกจากประตูโรงเรียน แล้วเลี้ยวซ้าย
แต่ถ้าเป็นช่วงๆปลายเดือน หลังวันที่ 20 เป็นต้นไป มอเตอร์ไซด์ของแก จะเลี้ยวขวา

แหม! ฟังดูเหมือนหนังเรื่อง ‘ผู้หญิงเลี้ยวซ้าย ผู้ชายเลี้ยวขวา’ เลยนะครับ
ต่างกันที่ ด้านซ้าย ของโรงเรียนเป็นตลาดสด มีร้านอาหารมากมาย
ส่วนด้านขวามือ จะเป็นย่านที่พักอาศัย

นักเรียนอย่างพวกเราก็งงๆว่า ทำไมเลี้ยวซ้ายบ้าง ขวาบ้าง
ด้วยความเป็นกันเองของคุณครูท่านนี้ พวกเราก็ถามตรงๆ และก็ถึงบางอ้อ!
“ช่วงปลายเดือน เงินครูหมด ก็ต้องกลับไปกินข้าวที่บ้านซิ!”
เออ… แกตอบได้ตรงมากครับ ไม่ปิดบังเลย

และเดี๋ยวนี้ก็เข้าใจคำพูดของคุณครูท่านนี้มากขึ้น แม้จะไม่ถึงขั้น “สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ” แต่ก็เข้าใจพฤติกรรมคนกินเงินเดือนมากขึ้น
ช่วงต้นเดือนก็เป็นฮันนีมูนพีเรียด ทั้งเที่ยว ช็อป ชิม เอาหมดทุกอย่าง ปลายๆเดือนค่อยว่ากันอีกที

พฤติกรรมลูกค้าเป็นแบบนี้ มีหรือที่ผู้ค้าปลีกจะปล่อยให้หลุดมือ
อย่างเช่น Tesco ที่อังกฤษ เขาถึงกับมี Pay Day discount strategy เป็นการเฉพาะเลยทีเดียว
คือลดราคาเป็นพิเศษ ในช่วงเงินเดือนออก (รวมถึงเทสโก้ในไทย ผมก็เริ่มเห็นแคมเปญนี้แล้ว)

แทนที่จะลดราคาตามเทศกาลปีใหม่, ตรุษจีน, สงกรานต์, วาเลนไทน์ หรือยิงสป็อตโฆษณาตลอด

ทั้งปี ก็หันมาทำการตลาดแบบเน้นๆ เอาเฉพาะช่วงปลายเดือน
ซึ่งผลจากการทดลองมาได้ระยะหนึ่ง ก็พอพิสูจน์แล้วว่ากลยุทธ์นี้ได้ผล

อ้าว! ช่วงปลายเดือนแบบนี้ ใครต้องเลี้ยวขวาบ้าง?
[ad#blend-336×280]

ใครว่าผมแก่!

เมื่อหลายวันก่อน รุ่นพี่ที่ทำงานโผล่มาด้วยอารมณ์สุดเซ็ง น่าตาบูดเบี้ยวเหมือนไม่ถ่ายมาหลายวัน
ก่อนจะหลุดปากบ่น “เซ็งว่ะ รถถูกชนแต่เช้าเลย” อ่านเพิ่มเติม ใครว่าผมแก่!

ต้นกำเนิด TESCO

ไหนๆก็เล่าเรื่อง Tesco ในเมืองไทยแล้ว ขอเล่าต่ออีกหน่อยถึงประวัติก่อเกิดของยักษ์ค้าปลีกแดนอังกฤษ

ในปี 1919 แจ็ค โคเฮน เริ่มธุรกิจเปิดร้านขายสินค้าอาหารสด-แห้ง ในย่าน East-End ของลอนลอน ทำยอดขายในวันแรก 4 ปอนด์ ได้กำไรมา 1 ปอนด์ (ตั้ง 25% เชียวนะ)
ต่อมา 1924 ร้านของเขา เริ่มมีสินค้าในแบรนด์ของตนเอง โดยใช้อักษรย่อ TES จากชื่อหุ้นส่วน และอักษร CO จากนามสกุลของเขาเอง รวมเป็น TESCO
ปี 1974 เทสโก้เปิดสถานีบริการน้ำมัน หน้าร้านเป็นแห่งแรก

ปี 1985 เริ่มผลิตอาหารเพื่อสุขภาพยี่ห้อ Healthy Eating
ปี 1991 เทสโก้กลายเป็นผู้ประกอบการปั๊มน้ำมันอิสระรายใหญ่สุดของอังกฤษ
ปี 1992 เริ่มจำหน่ายอาหารออร์กานิก ยี่ห้อของตนเอง
70 ปีจากวันเริ่มใช้ชื่อ Tesco ได้ทดลองเปิดร้าน Tesco Express ในปี 1994
พอปีถัดมาก็เปิดตัวบริการบัตรสมาชิก
จากนั้น ในปี 1997 เปิดตัวบริการสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต และประกัน

ในปี 2002 ผลิตสินค้าเฮ้าแบรนด์ ภายใต้ยี่ห้อ ฟลอเรน เฟรด และเชอโรกี
ปี 2003 เริ่มจำหน่ายโทรศัพท์มือถือเทสโก้
อีกปีต่อมา จำหน่ายเฮ้าแบรนด์ยี่ห้อ แฟร์เทรด และออกบัตร”กรีนคาร์ด” เพื่อส่งเสริมการรีไซเคิลขยะจากสินค้า เปิดตัวบริการดาวน์โหลดเพลงทางอินเตอร์เน็ต
ปี 2005 เปิดตัวบริการโฮมช็อปปิ้งให้ลูกค้าซื้อทางแคตาล็อกออนไลน์
และล่าสุดในปีนี้ Tesco ท้าทาย Microsoft ด้วยการขายคอมพิวเตอร์ทั้ง Hardware และ Software ของตนเอง

ทึ่งมั๊ยครับ กับการพัฒนาของ Tesco และคาดว่า ต่อจากนี้ไป คงมีรูปแบบร้านหรือบริการใหม่ๆ ออกมาทำตลาดอีกมาก โดยเฉพาะเมืองไทย ที่ตอนนี้กลายเป็นฐานที่มั่นสำคัญ รองจากตลาดบ้านเกิด  เพราะหากไม่นับสาขาในเมืองผู้ดีแล้ว สยามเมืองยิ้มมีสาขา Tesco มากที่สุดในโลก

ภาพจาก tesco.com
[ad#blend-336×280]

TESCO เมืองไทย

วันนี้ขอเล่าเรื่อง tesco ซะหน่อย เห็นช่วงนี้เป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์เยอะเหลือเกิน ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกจากแดนอังกฤษรายนี้ ถือเป็นผู้นำตลาดค้าปลีกอันดับต้นๆของโลก ล่าสุดมีพนักงานทั่วโลกกว่า 389,258 คน ยอดขายปีละกว่า 2.5 ล้านล้านบาท  ไม่มากไม่น้อย ก็แค่ 1 ใน 3 ของ GDP ประเทศไทยเรา

ในเมืองไทย Tesco เริ่มเข้ามาในช่วงปี 1996-1997 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ที่บริษัทไทยหลายราย ต้องขายกิจการ Tesco อาศัยจังหวะนี้เข้ามาร่วมทุนกับเครือซีพี ซึ่งขณะนั้นกำลังขยายธุรกิจค้าปลีกขนานใหญ่ ตอนนั้น ซีพี มีธุรกิจค้าปลีกอยู่ในมือ ทั้งร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven, ไฮเปอร์มาร์เก็ตชื่อ Lotus, ห้างแบบ Cash & Carry ชื่อ “Makro” สุดท้าย ซีพี เลือกเก็บ 7-Eleven ไว้ เพราะเห็นว่ามีอนาคตสดใสมากที่สุด และสามารถต่อยอดจากธุรกิจเดิม คือ ธุรกิจฟาร์มไก่ ฟาร์มหมู โดยปล่อยหุ้นจำนวนมาก ของ Lotus ให้กับ Tesco นั่นเป็นที่มาของชื่อ Tesco Lotus ที่ยังคงมีชื่อทั้ง ผู้ก่อตั้ง และผู้มาใหม่ นับเป็น Banner หรือป้ายห้าง ที่แตกต่างจากประเทศอื่นทั่วโลก
เพราะ Tesco ในประเทศอื่นๆ จะใช้ชื่อ “Tesco” หรือ Banner อื่นๆของบริษัทแม่เท่านั้น Tesco ถือเป็นห้างค้าปลีก ที่มีความครบเครื่อง เรื่องรูปแบบร้าน มากที่สุดในโลก มีประเภทร้านกว่า 6 แบบ ไล่เรียงจาก One Stop ร้านขนาด 100 กว่าตารางเมตร ไปเป็น Tesco Express(เมืองไทยใช้ชื่อ Tesco Lotus Express) , Tesco Metro, Tesco, Tesco Homeplus และ Tesco Extra ที่มีพื้นที่ใหญ่ถึงหลายหมื่นตารางเมตร ล่าสุด Tesco ทั่วโลก มีพื้นที่ขายสินค้า กว่า 2.4 ล้านตารางเมตร ถ้านึกภาพไม่ออก ก็ขนาดประมาณ 230 สนามฟุตบอล

ภาพจาก tescolotus.com
[ad#blend-336×280]